DOS ย่อมาจากอะไร ?
DOS ย่อมาจากคำว่า " Disk Operating System " หมายถึง ระบบปฏิบัติการ (operating system) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของระบบซอฟต์แวร์ ระบบปฏิบัติการประกอบขึ้นจากชุดโปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการดำเนินการต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ และประสานการทำงานระหว่างทรัพยากรต่าง ๆ ในระบบคอมพิวเตอร์
อ้างอิง http://www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-9156.html
สรุปว่า คำสั่งของ DOS มีอยู่ 2 ลักษณะ คือ
1. คำสั่งภายใน (Internal Command) เป็นคำสั่งที่เรียกใช้ได้ทันทีตลอดเวลาที่เครื่องเปิดใช้งานอยู่ เพราะคำสั่งประเภทนี้ถูกบรรจุลงในหน่วยความจำหลัก (ROM) ตลอดเวลา หลังจากที่ Boot DOS ส่วนมากจะเป็นคำสั่งที่ใช้อยู่เสมอ เช่น CLS, DIR, COPY, REN เป็นต้น
2. คำสั่งภายนอก (External Command) คำสั่งนี้จะถูกเก็บไว้ในดิสก์หรือแผ่น DOS คำสั่งเหล่านี้จะไม่ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ เมื่อต้องการใช้คำสั่งเหล่านี้คอมพิวเตอร์จะเรียกคำสั่งเข้าสู๋หน่วยความจำ ถ้าแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ไม่มีคำสั่งที่ต้องการใช้อยู่ก็ไม่สามารถเรียกคำสั่งนั้น ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น คำสั่ง FORMAT, DISKCOPY, TREE, DELTREE เป็นต้น
หน้าที่ของ dosได้ 3 อย่าง คือ
1.จัดการอุปกรณ์ต่างๆ ให้ทำหน้าที่ประสานการทำงานระหว่างหน่วยรับข้อมูล(Input)และหน่วยแสดงผล(Output)
2.ควบคุมการทำงานของโปรแกรม เช่น การอ่านโปรแกรมหรือคำสั่งขึ้นมาจากดิสค์เตรียมสิ่งต่างๆ สำหรับให้โปรแกรมการทำงานและจัดพื้นที่ในหน่วยความจำกับดิสค์
3.ปฏิบัติตามคำสั่ง ที่ผู้ใช้ดอสรับเข้ามาไปทำการประมวลและปฏิบัติตามคำสั่งนั้น ๆ
Linux
*เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้งานได้ฟรี ทำงานได้บนเครื่องพีซีทั่วไป ที่มีหน่วยประมวลผลกลางตั้งแต่ 80386 ขึ้นไป รวมถึง Motora 680x0, Compaq (Digital) Alpha, PowerPC, SPARC เป็นต้น Linux จึงเป็นระบบปฏิบัติการที่มีความต้องการทรัพยากรของระบบในขั้นต่ำ สามารถทำงานได้รวดเร็ว เนื่องจากมีระบบการจัดการหน่วยความจำเสมือน (Virtual Memory) การจัดทำงานแบบ Multitasking และระบบป้องกันการรบกวนการทำงานระหว่าง Process ต่างๆ
Linux มีความสามารถแบบ UNIX
คือ สามารถใช้งานร่วมกับดอส (DOS) และ Microsoft Windows โดยการแบ่งพาติชั่น ชึ่งมีความสามารถในการใช้งานไฟล์ร่วมกับระบบปฏิบัติการอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น DOS หรือ Microsoft Windows และ Linux เป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิด เนื่องจากทุกฟังก์ชันมี Source Code แนบมาพร้อม
วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น